วิชัย ตะการกิจ (หนุ่ม) ประธานศูนย์อนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก

คุณวิชัยเป็นประธานศูนย์อนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก ซึ่งมีจุดเริ่มต้นภายใต้ชื่อกลุ่มอนุรักษ์เต่าตั้งแต่ปี 2533 ที่มีนายสมบัติ แซ่อิ่ว (ป๋าเฉ่ง) เป็นผู้ริเริ่มด้วยการซื้อไข่เต่ามาเพาะฟักด้วยทุนส่วนตัว เพื่อให้เต่าเติบโตอย่างสมบูรณ์แล้วปล่อยลงทะเล แต่หลังจากปี 2540 มีแก้กฎหมายอวนลาก ให้เรือลากอวนสามารถเข้ามาใกล้ฝั่งมากกว่าเดิม

กมลวัฒน์ นภดลรุ่งเรือง (ชาลี) ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์เต่าทะเลหาดไม้ขาว

คุณชาร์ลีเป็นคนกรุงเทพ ก่อนมาเป็นผู้จัดการที่มูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์เต่าทะเลหาดไม้ขาว เคยทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่เกาะพีพี และไปอยู่ที่มัลดีฟเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งตอนนี้ดูแลสัตว์น้ำหลายชนิด ทั้งฉลาม กระเบน ประการัง และเต่า การย้ายมาประจำอยู่ที่ภูเก็ตไม่มีปัญหาด้านการปรับตัวใดๆ เพราะไม่ชอบอยู่ที่กรุงเทพฯ อยู่แล้ว และมีภรรยาเป็นคนกระบี่ แม้จะยังแหลงใต้ไม่ได้แต่ก็ฟังเข้าใจ สามารถสื่อสารกับคนในพื้นที่ได้อย่างไม่มีปัญหา

พระปรีดา ปริโท เจ้าอาวาสวัดไม้ขาว

พระปรีดา ปริโท หรือที่ลูกศิษย์เรียกว่า “พระอาจารย์เวก” เกิดที่จังหวัดพังงา บวชมาแล้ว 26 พรรษา เคยจำวัดที่พังงา ภูเก็ต และภาคอีสาน มาเป็นเจ้าอาวาสวัดไม้ขาวตั้งแต่ปี 2555 ต่อจากพระอาจารย์แดง อดีตเจ้าอาวาสที่มรณะภาพ ปัจจุบันก็ 11 ปีแล้ว เนื่องจากเป็นวัดป่า แม้ว่าปัจจุบันเมืองจะเข้ามาใกล้วัด

ลา วารี

ลุง ลา วารี เป็นชาวเลมอเกลนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของภูเก็ต ติดทะเลใกล้สะพานสารสิน ครอบครัวปักหลักอยู่ที่นี่มาราว 300 ปี แกเป็นรุ่นที่ 4 ปัจจุบันอายุ 70 ปี เนื่องจากชาวมอเกลนทำงานออกทะเลกลางแจ้งเป็นประจำ ร่างกายจึงแข็งแรง เฉลี่ยอายุยาวถึง 90 ปี อาชีพเป็นชาวประมง

ภัทรนิษฐ์ วิเชียรบรรณ

นางภัทรนิษฐ์ วิเชียรบรรณ หรือ “ครูแวน” เกิดในครอบครัวเชื้อสายจีน เป็นหลานคนแรกของตระกูลฝั่งพ่อ และเป็นผู้หญิงคนเดียว จากหลานทั้งหมด 6 คนของครอบครัวฝั่งพ่อ ตอนเด็กๆ ภาพจำคือทุกคนในครอบครัวซึ่งอยู่ในลักษณะกงสีผิดหวังมาก เพราะทุกคนคาดหวังจะเห็นหลานคนแรกของตระกูลเป็นผู้ชาย อาก๋งของแวนเป็นนายเหมืองและเป็นเจ้าของเหมืองแร่เล็กๆ บนเขา พ่อหรือแวนเรียกว่า แต้ มีพี่น้อง 7 คน

เนตร เดชากุล

นายเนตร เดชากุล เป็นผู้ริเริ่มรวบรวมเพื่อนบ้านใช้พื้นที่นาร้างมาทำนาข้าว ซึ่งเดิมเป็นนาร้าง โดยทำเป็นเชิงอนุรักษ์อาชีพชาวนา เนื่องจากภูเก็ตไม่ใช่จังหวัดที่เน้นปลูกข้าว โครงการนี้เริ่มอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2554 ชูสโลแกน “ปลูกวันแม่เก็บเกี่ยววันพ่อ” ราชการผู้นำชุมชน พลังมวลชนและประชาชนในพื้นที่ร่วมงาน มีหน่วยงานในพื้นที่ร่วมจัดนิทรรศการมาอย่างต่อเนื่อง