Author: benadmin

  • พิธีแต่งงานชาวบาบ๋า จากภาพบรรยากาศงานแต่ง

    พิธีแต่งงานชาวบาบ๋า จากภาพบรรยากาศงานแต่ง

    พิธีแต่งงานชาวบาบ๋า งานแต่งบาบ๋าของชาวปุ้นเต่ (ชาวจีนในภูเก็ต) ถึงแม้จะผ่านมาหลายร้อยปี และบางขั้นตอนอาจถูกลดทอนไปบ้างเพื่อความสะดวก แต่ทุกครอบครัวก็พยายามรักษาต่อยอดประเพณีมงคลให้เพ้ะ (เหนียวแน่น ) เพราะเชื่อว่าทำดีเป่งอ้าน (โชคลาภ) มีแต่จะส่งผลดีต่ออนาคตของบ่าวสาวและคนในครอบครัว ในปัจจุบันก็รวบมาเหลือประมาณ 2-3 วัน คือวันหนมสด (ขนมสด) วันแต่ง ผั่งเต๋ (พิธียกนำ้ชา) และวันจัดเลี้ยงโต้ะจีน ซึ่ง 2 กิจกรรมหลังก็นิยมทำภายในวันเดียวคือแต่งเช้า เลี้ยงเที่ยงหรือเย็นไปเลย วันหนมสดคือญาติสนิทและเพื่อนๆ จะมาที่บ้านงานฝ่ายเจ้าสาว ช่วยกันจัดบ้าน ทำกับข้าว ขนม เตรียมความพร้อมรับเจ้าบ่าวในวันแต่งถัดมา สมัยก่อนแต่งกัน 7 วัน 7 คืน เพราะถือว่าเป็นงานมหารวย ฉลองการควบรวม 2 ครอบครัวให้เป็นทองแผ่นเดียวกัน หลายๆ บ้านถือว่าเป็นการต้าวถาว (แมทชิ่ง คลุมถุงชน) เพื่อความเจริญทางธุรกิจ เช่น บ้านทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะนิยมแต่งกับบ้านขายเครื่องมือก่อสร้าง เป็นต้น พิธีแต่งงานจะเริ่มจากการจุดลูกทัด (ประทัด) ให้ทั้งเทดา (เทวดา) คนร่วมงานและคนละแวกบ้านงานได้รู้ถึงการเริ่มต้นพิธีงานแต่ง ไหว้เทดาก่อนเพื่อน (เป็นอย่างแรก) บ้านแค่เพ้ะมากๆ…

  • น้องกาล ได้เกรด 3.94

    น้องกาล ได้เกรด 3.94

    หลังจากที่เราตัดสินใจย้ายพ่อจากโรงพยาบาลชุมชน ไปโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตในเมือง พ่อผ่าตัดต้อกระจกอาทิตย์ที่แล้ว ผ่านไปด้วยดีเริ่มมองเห็นเลือนลางและสามารถเห็นหน้าลูกสาวได้ชัดขึ้น นั่นคงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่คนเป็นพ่อหวังจะได้เห็น แต่วันนี้สิ่งที่ดีกว่านั้นก็คือใบเกรดของลูกสาว 3.94 เราคิดว่าต่อให้พ่อจะมองไม่เห็นอีกแล้ว แต่ที่แน่ๆ คือพ่อจะเห็นอนาคตของลูกสาว ที่มูลนิธิบ้านอาจ้อจะประคองและพาเดินต่อไปให้มีอนาคตที่ดีแน่ๆ . ด้วยสภาพแวดล้อมที่บ้านของน้องนั้นไม่มีจุดไหนเลยที่เอื้อกับบรรยากาศให้เรียนได้ง่าย บ้านที่พอจะเป็นแค่ที่กันแดดกันฝนได้แค่เท่านั้น จึงเหลือเชื่อว่าน้องกาลยังสามารถทำเกรดได้สูงขนาดนี้ . แต่วันนี้หนูได้ทำสิ่งที่เป็นสะพานต่อยอดในอนาคตของหนู ก้าวไปอีกขั้นแล้วนะ และก้าวต่อไปอีกอนาคตต้องสดใสแน่นอน

  • โปรดช่วยผมกับลูกอีกสักครั้ง

    โปรดช่วยผมกับลูกอีกสักครั้ง

    โปรดช่วยผมกับลูกอีกสักครั้งนะครับ’ เสียงปลายสายที่แผ่วจนรู้สึกถึงความหมดหวังขอผู้เป็นพ่อและเป็นเสาหลักของเมียและลูกที่โทรมาหาเรา บ้านอาจ้อสวดมนต์ให้พ่อนะ ขอให้การตัดต้อหินวันนี้ผ่านไปด้วยดี หมอบอกว่าผ่าเถอะ มัน 50:50 เลือนลางหรือบอด แต่ก็ดีกว่ารอให้ไม่เห็นเลย

  • วิชัย ตะการกิจ (หนุ่ม) ประธานศูนย์อนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก

    วิชัย ตะการกิจ (หนุ่ม) ประธานศูนย์อนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก

    คุณวิชัยเป็นประธานศูนย์อนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก ซึ่งมีจุดเริ่มต้นภายใต้ชื่อกลุ่มอนุรักษ์เต่าตั้งแต่ปี 2533 ที่มีนายสมบัติ แซ่อิ่ว (ป๋าเฉ่ง) เป็นผู้ริเริ่มด้วยการซื้อไข่เต่ามาเพาะฟักด้วยทุนส่วนตัว เพื่อให้เต่าเติบโตอย่างสมบูรณ์แล้วปล่อยลงทะเล แต่หลังจากปี 2540 มีแก้กฎหมายอวนลาก ให้เรือลากอวนสามารถเข้ามาใกล้ฝั่งมากกว่าเดิม

  • กมลวัฒน์ นภดลรุ่งเรือง (ชาลี) ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์เต่าทะเลหาดไม้ขาว

    กมลวัฒน์ นภดลรุ่งเรือง (ชาลี) ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์เต่าทะเลหาดไม้ขาว

    คุณชาร์ลีเป็นคนกรุงเทพ ก่อนมาเป็นผู้จัดการที่มูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์เต่าทะเลหาดไม้ขาว เคยทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่เกาะพีพี และไปอยู่ที่มัลดีฟเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งตอนนี้ดูแลสัตว์น้ำหลายชนิด ทั้งฉลาม กระเบน ประการัง และเต่า การย้ายมาประจำอยู่ที่ภูเก็ตไม่มีปัญหาด้านการปรับตัวใดๆ เพราะไม่ชอบอยู่ที่กรุงเทพฯ อยู่แล้ว และมีภรรยาเป็นคนกระบี่ แม้จะยังแหลงใต้ไม่ได้แต่ก็ฟังเข้าใจ สามารถสื่อสารกับคนในพื้นที่ได้อย่างไม่มีปัญหา

  • พระปรีดา ปริโท เจ้าอาวาสวัดไม้ขาว

    พระปรีดา ปริโท เจ้าอาวาสวัดไม้ขาว

    พระปรีดา ปริโท หรือที่ลูกศิษย์เรียกว่า “พระอาจารย์เวก” เกิดที่จังหวัดพังงา บวชมาแล้ว 26 พรรษา เคยจำวัดที่พังงา ภูเก็ต และภาคอีสาน มาเป็นเจ้าอาวาสวัดไม้ขาวตั้งแต่ปี 2555 ต่อจากพระอาจารย์แดง อดีตเจ้าอาวาสที่มรณะภาพ ปัจจุบันก็ 11 ปีแล้ว เนื่องจากเป็นวัดป่า แม้ว่าปัจจุบันเมืองจะเข้ามาใกล้วัด

  • ลา วารี

    ลา วารี

    ลุง ลา วารี เป็นชาวเลมอเกลนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของภูเก็ต ติดทะเลใกล้สะพานสารสิน ครอบครัวปักหลักอยู่ที่นี่มาราว 300 ปี แกเป็นรุ่นที่ 4 ปัจจุบันอายุ 70 ปี เนื่องจากชาวมอเกลนทำงานออกทะเลกลางแจ้งเป็นประจำ ร่างกายจึงแข็งแรง เฉลี่ยอายุยาวถึง 90 ปี อาชีพเป็นชาวประมง

  • ภัทรนิษฐ์ วิเชียรบรรณ

    ภัทรนิษฐ์ วิเชียรบรรณ

    นางภัทรนิษฐ์ วิเชียรบรรณ หรือ “ครูแวน” เกิดในครอบครัวเชื้อสายจีน เป็นหลานคนแรกของตระกูลฝั่งพ่อ และเป็นผู้หญิงคนเดียว จากหลานทั้งหมด 6 คนของครอบครัวฝั่งพ่อ ตอนเด็กๆ ภาพจำคือทุกคนในครอบครัวซึ่งอยู่ในลักษณะกงสีผิดหวังมาก เพราะทุกคนคาดหวังจะเห็นหลานคนแรกของตระกูลเป็นผู้ชาย อาก๋งของแวนเป็นนายเหมืองและเป็นเจ้าของเหมืองแร่เล็กๆ บนเขา พ่อหรือแวนเรียกว่า แต้ มีพี่น้อง 7 คน

  • เนตร เดชากุล

    เนตร เดชากุล

    นายเนตร เดชากุล เป็นผู้ริเริ่มรวบรวมเพื่อนบ้านใช้พื้นที่นาร้างมาทำนาข้าว ซึ่งเดิมเป็นนาร้าง โดยทำเป็นเชิงอนุรักษ์อาชีพชาวนา เนื่องจากภูเก็ตไม่ใช่จังหวัดที่เน้นปลูกข้าว โครงการนี้เริ่มอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2554 ชูสโลแกน “ปลูกวันแม่เก็บเกี่ยววันพ่อ” ราชการผู้นำชุมชน พลังมวลชนและประชาชนในพื้นที่ร่วมงาน มีหน่วยงานในพื้นที่ร่วมจัดนิทรรศการมาอย่างต่อเนื่อง

  • Tour 1: Good Morning Mai Khao

    Tour 1: Good Morning Mai Khao

    เที่ยวไม้ขาว ครึ่งวันเช้า ร่วมกับบ้านอาจ้อ แพ๊คเกจนำเที่ยวไฮไลท์ตำบลไม้ขาว เน้นของดีของชุมชน ทั้งสถานที่เที่ยว กิจกรรม และอาหาร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนไม้ขาวเป็นหลัก

By continuing to use our site you consent to the use of cookies as described in our privacy policy